ป่า สน เขา (Pine Forest )
เป็นป่าบนที่ราบหลังภู พบในที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 700 -1,700 เมตร ลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีไม้สนสองใบ (Pinus merkusii Jungh. & de Vriese) และสนสามใบ (Pinus kesiya Royle ex Gordon) เป็นไม้หลัก บางแห่งจะพบไม้ไม้ใบกว้างเข้ามาปะปนในโครงสร้างเรือนยอด โดยเฉพาะพรรณไม้วงศ์ยางผลัดใบในป่าเต็งรัง เช่น เหียง (Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.) ขึ้นปะปนอยู่หนาแน่น ส่วนไม้พื้นล่างเป็นพวกเฟินและไม้วงศ์หญ้า(Gramineae) ส่วนใหญ่เป็นหญ้าคา (Imperata cylindrica (L.) P.Beauv.) หญ้าหางหมาจิ้งจอก (Aristida balansae Henrard) เป็นต้น ป่าสนเขาในระบบนิเวศภูเขา บนเทือกเขาภูหินร่องกล้า ส่วนใหญ่ถูกบุกรุกทำลายจนเหลือสนสองใบหรือสามใบขึ้นกระจายอยู่ห่าง ๆ ผสมกับพรรณไม้ดั้งเดิมของป่าดิบเขาและพรรณไม้เบิกนำหลายชนิดอย่างไรก็ตามสามารถจำแนกชั้นเรือนยอดได้ 3 ชั้นเรือนยอด คือ
1) เรือนยอดชั้นบน มีความสูงถึง 25 เมตร ไม้เด่นในชั้นเรือนยอดนี้เป็นไม้สนและไม้ในป่าดิบเขาที่ขึ้นปะปนอยู่ ได้แก่ สนสามใบ (Pinus kesiya Royle ex Gordon) มังตาน (Schima wallichii (DC.) Korth.) ก่อเดือย (Castanopsis acuminatissima (Blume) A.DC.) กำลังเสือโคร่ง (Betula alnoides Buch.-Ham. ex G.Don) และ จำปาเขา (Michelia champaca) เป็นต้น
2) เรือนยอดชั้นรอง มีความสูงประมาณ 15 - 17 เมตร ไม้เด่นในชั้นเรือนยอดนี้ ได้แก่ ก่อดำ (Lithocarpus truncatus (King) Rehder & Wilsonz), ปลายสาน (Eurya acuminata DC. var. acuminata), สารภีดอย (Anneslea fragrans Wall.), และกำยาน (Styrax benzoides Craib), นอกจากนี้ พบไม้ป่าเต็งรังเข้ามาปะปน ได้แก่ เหมือดโลด (Aporosa villosa (Wall. ex Lindl.) Baill.) และ ตับเต่าต้น (Diospyros ehretioides Wall. ex G.Don), เป็นต้น และ
3) เรือนยอดชั้นพื้นล่างและระดับพื้นป่า มีความสูงของต้นไม้ไม่เกิน 5 เมตร ไม้เด่นในชั้นเรือนยอดนี้ เป็นไม้พุ่มและพืชในวงศ์หญ้า (Gramineae) และไม้ล้มลุกในวงศ์ถั่ว (Leguminoseae) รวมถึงไม้ล้มลุกอื่นๆ ได้แก่ แข้งกวางดง (Wendlandia paniculata (Roxb.) DC.) โคลงเคลง (Melastoma malabathricum L. subsp. malabathricum) และเข็มขาว (Pavetta humilis Hook.f.)เป็นต้น
1) เรือนยอดชั้นบน มีความสูงถึง 25 เมตร ไม้เด่นในชั้นเรือนยอดนี้เป็นไม้สนและไม้ในป่าดิบเขาที่ขึ้นปะปนอยู่ ได้แก่ สนสามใบ (Pinus kesiya Royle ex Gordon) มังตาน (Schima wallichii (DC.) Korth.) ก่อเดือย (Castanopsis acuminatissima (Blume) A.DC.) กำลังเสือโคร่ง (Betula alnoides Buch.-Ham. ex G.Don) และ จำปาเขา (Michelia champaca) เป็นต้น
2) เรือนยอดชั้นรอง มีความสูงประมาณ 15 - 17 เมตร ไม้เด่นในชั้นเรือนยอดนี้ ได้แก่ ก่อดำ (Lithocarpus truncatus (King) Rehder & Wilsonz), ปลายสาน (Eurya acuminata DC. var. acuminata), สารภีดอย (Anneslea fragrans Wall.), และกำยาน (Styrax benzoides Craib), นอกจากนี้ พบไม้ป่าเต็งรังเข้ามาปะปน ได้แก่ เหมือดโลด (Aporosa villosa (Wall. ex Lindl.) Baill.) และ ตับเต่าต้น (Diospyros ehretioides Wall. ex G.Don), เป็นต้น และ
3) เรือนยอดชั้นพื้นล่างและระดับพื้นป่า มีความสูงของต้นไม้ไม่เกิน 5 เมตร ไม้เด่นในชั้นเรือนยอดนี้ เป็นไม้พุ่มและพืชในวงศ์หญ้า (Gramineae) และไม้ล้มลุกในวงศ์ถั่ว (Leguminoseae) รวมถึงไม้ล้มลุกอื่นๆ ได้แก่ แข้งกวางดง (Wendlandia paniculata (Roxb.) DC.) โคลงเคลง (Melastoma malabathricum L. subsp. malabathricum) และเข็มขาว (Pavetta humilis Hook.f.)เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น